เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกปุคคลบัญญัติ
อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย ปริยุฏฐานกิเลสคืออวิชชา ลิ่มคือ
อวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า ความไม่มีสัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยความไม่มีสัมปชัญญะนี้ชื่อว่าผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
[61] บุคคลผู้มีศีลวิบัติ เป็นไฉน ในข้อนั้น ศีลวิบัติ เป็นไฉน
การล่วงละเมิดทางกาย การล่วงละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทั้งทางกาย
และทางวาจา นี้เรียกว่า ศีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าศีลวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลวิบัตินี้ชื่อว่าผู้มีศีลวิบัติ
[62] บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ในข้อนั้น ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มี
ผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ
บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง
โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นอันเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความถือผิด
ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
คลาดเคลื่อน นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้
ประกอบทิฏฐิวิบัตินี้ชื่อว่าผู้มีทิฏฐิวิบัติ
[63] บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นไฉน
บุคคลใดยังละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง 5 ประการไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์
ในภายใน
[64] บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นไฉน
บุคคลใดยังละสังโยชน์เบื้องสูงทั้ง 5 ประการไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์
ในภายนอก
[65] บุคคลผู้ไม่มักโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโกรธ เป็นไฉน
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด
ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :161 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกปุคคลบัญญัติ
ที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า ความโกรธ บุคคลใดละความโกรธนี้ได้ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ไม่มักโกรธ
[66] บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความผูกโกรธ เป็นไฉน
ความโกรธในเบื้องต้นชื่อว่าความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมาชื่อว่าความ
ผูกโกรธ ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ ความไม่หยุด
โกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การโผลงไปตามความโกรธ
การตามผูกความโกรธไว้ การทำความโกรธให้มั่น นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ
บุคคลใดละความผูกโกรธนี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ผูกโกรธ
[67] บุคคลผู้ไม่ลบหลู่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความลบหลู่ เป็นไฉน
ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความดูหมิ่น การกระทำความ
ดูหมิ่น นี้เรียกว่า ความลบหลู่ บุคคลใดละความลบหลู่นี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่
ลบหลู่
[68] บุคคลผู้ไม่ตีเสมอ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตีเสมอ เป็นไฉน
ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ สภาวธรรมที่เป็นอาหารแห่ง
ความตีเสมอโดยการนำเอาชัยชนะของตนมาอ้างเหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี
ความไม่ยอมสละ นี้เรียกว่า ความตีเสมอ บุคคลใดละความตีเสมอนี้ได้ บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้ไม่ตีเสมอ
[69] บุคคลผู้ไม่มีความริษยา เป็นไฉน ในข้อนั้น ความริษยา เป็นไฉน
ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง
ภาวะที่เกลียดชังในเมื่อผู้อื่นได้ลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การ
กราบไหว้และการบูชา นี้เรียกว่า ความริษยา บุคคลใดละความริษยานี้ได้ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ไม่มีความริษยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :162 }