เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกปุคคลบัญญัติ
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่ระวังจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟัง
เสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ เป็นผู้รวบถือ แยกถือ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็เป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมทั้งหลายคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ไม่ระวังจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ความ
ไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 เหล่านี้
นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็น
ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์นี้ชื่อว่าผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์
[58] บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็น
ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคายกลืนกินอาหารเพื่อเล่น เพื่อ
ความมัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในการพิจารณาแล้วบริโภคโภชนาหารนั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในการบริโภค บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการ
บริโภคนี้ชื่อว่า ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
[59] บุคคลผู้มีสติหลงลืม เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้มีสติหลงลืม
เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึกไม่ได้
อาการที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้มีสติหลงลืม บุคคลผู้ประกอบด้วยความมีสติหลงลืมนี้ชื่อว่าผู้มีสติหลงลืม
[60] บุคคลผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความไม่มีสัมปชัญญะ
เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้
ตามความเป็นจริง ความไม่รู้แจ้งตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลง
อย่างรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความ
ทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงใหล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :160 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 2. ทุกปุคคลบัญญัติ
อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย ปริยุฏฐานกิเลสคืออวิชชา ลิ่มคือ
อวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า ความไม่มีสัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยความไม่มีสัมปชัญญะนี้ชื่อว่าผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
[61] บุคคลผู้มีศีลวิบัติ เป็นไฉน ในข้อนั้น ศีลวิบัติ เป็นไฉน
การล่วงละเมิดทางกาย การล่วงละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทั้งทางกาย
และทางวาจา นี้เรียกว่า ศีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าศีลวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลวิบัตินี้ชื่อว่าผู้มีศีลวิบัติ
[62] บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ในข้อนั้น ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มี
ผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ
บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง
โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นอันเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความถือผิด
ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
คลาดเคลื่อน นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้
ประกอบทิฏฐิวิบัตินี้ชื่อว่าผู้มีทิฏฐิวิบัติ
[63] บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นไฉน
บุคคลใดยังละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง 5 ประการไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์
ในภายใน
[64] บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นไฉน
บุคคลใดยังละสังโยชน์เบื้องสูงทั้ง 5 ประการไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์
ในภายนอก
[65] บุคคลผู้ไม่มักโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโกรธ เป็นไฉน
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด
ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :161 }