เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 1. เอกกปุคคลบัญญัติ
[22] บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ 4 ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน
บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ 4 นั้น และถึงความชำนาญในทศพลญาณ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
[23] บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ 4 ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน
แต่ไม่บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ 4 นั้น และไม่ถึงความชำนาญใน
ทศพลญาณ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัจเจกพุทธะ
[24] บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายอยู่และอาสวะทั้งหลายของเขา
ย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ
[25] บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลาย
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ
[26] บุคคลผู้เป็นกายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของ
เขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกายสักขี
[27] บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคต
ประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
[28] บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคต
ประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :153 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 1. เอกกปุคคลบัญญัติ
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่ไม่เหมือนผู้ชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
[29] บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง
บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นตัวนำ มีปัญญาเป็นประธาน บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น
ธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
[30] บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง
บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น
สัทธานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
[31] บุคคลผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ1ในวันข้างหน้า บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป
ในเทวโลกและมนุษยโลก 7 ชาติแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น
สัตตักขัตตุปรมะ
[32] บุคคลผู้เป็นโกลังโกละ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป 2
หรือ 3 ตระกูลแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นโกลังโกละ
[33] บุคคลผู้เป็นเอกพีชี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลนั้นเกิดเป็น
มนุษย์ภพเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นเอกพีชี

เชิงอรรถ :
1 สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคเบื้องสูง 3 (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค)
(สารตฺถ.ฏีกา 1/21/559)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :154 }