เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 1. เอกกปุคคลบัญญัติ
นิทเทส
1. เอกกปุคคลบัญญัติ
[1] บุคคลผู้เป็นสมยวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย1ทุกกาล ทุกสมัย และอาสวะ
ทั้งหลายของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมยวิมุตตะ
[2] บุคคลผู้เป็นอสมยวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายทุกกาล ทุกสมัย แต่อาสวะ
ทั้งหลายของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอสมยวิมุตตะ
แม้พระอริยบุคคลทั้งหมดก็ชื่อว่าผู้เป็นอสมยวิมุตตะในอริยวิโมกข์2
[3] บุคคลผู้เป็นกุปปธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูป3เป็นอารมณ์หรือมีอรูป4เป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่ได้ตามที่ต้องการ มิใช่ได้โดยไม่ยาก มิใช่ได้โดยไม่ลำบาก มิใช่จะเข้า
หรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตามกำหนด
เวลาที่ต้องการ ข้อที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงเสื่อมเพราะอาศัยความประมาทของบุคคล
นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกุปปธรรม
[4] บุคคลผู้เป็นอกุปปธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
และบุคคลนั้นเป็นผู้ได้ตามที่ต้องการ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก จะเข้าหรือ
ออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตามกำหนดเวลา
ที่ต้องการ ข้อที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงเสื่อมไปเพราะอาศัยความประมาทของบุคคล
นั้น นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอกุปปธรรม พระอริยบุคคล
แม้ทั้งหมดก็ชื่อว่าผู้เป็นอกุปปธรรมในอริยวิโมกข์

เชิงอรรถ :
1 กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. 1/35)
2 อริยวิโมกข์ ในที่นี้หมายถึงโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. 2/37)
3 รูป ในที่นี้หมายถึงรูปนิมิต (อภิ.ปญฺจ.อ. 3/37)
4 อรูป ในที่นี้หมายถึงอรูปนิมิต (อภิ.ปญฺจ.อ. 3/37)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :149 }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ 1. เอกกปุคคลบัญญัติ
[5] บุคคลผู้เป็นปริหานธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่ได้ตามที่ต้องการ มิใช่ได้โดยไม่ยาก มิใช่ได้โดยไม่ลำบาก มิใช่
จะเข้าหรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตาม
กำหนดเวลาที่ต้องการ ข้อที่บุคคลนั้นจะพึงเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้นเพราะอาศัย
ความประมาท นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปริหานธรรม
[6] บุคคลผู้เป็นอปริหานธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
และบุคคลนั้นเป็นผู้ได้ตามที่ต้องการ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก จะเข้าหรือ
ออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตามกำหนดเวลา
ที่ต้องการ ข้อที่บุคคลนั้นจะพึงเสื่อมจากสมาบัตินั้นเพราะอาศัยความประมาท นั่น
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอปริหานธรรม พระอริยบุคคลแม้
ทั้งหมดก็ชื่อว่าผู้เป็นอปริหานธรรมในอริยวิโมกข์
[7] บุคคลผู้เป็นเจตนาภัพพะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่จะได้ตามที่ต้องการ มิใช่จะได้โดยไม่ยาก มิใช่จะได้โดยไม่ลำบาก
มิใช่จะเข้าหรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ
ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ ถ้าตามใส่ใจ1 ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น ถ้าไม่
ตามใส่ใจ ย่อมเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นเจตนาภัพพะ
[8] บุคคลผู้เป็นอนุรักขนาภัพพะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่จะได้ตามที่ต้องการ มิใช่จะได้โดยไม่ยาก มิใช่จะได้โดยไม่ลำบาก
มิใช่จะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ
ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ ถ้าตามรักษา ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น ถ้า
ไม่ตามรักษา ย่อมเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอนุรักขนาภัพพะ

เชิงอรรถ :
1 ตามใส่ใจในที่นี้หมายถึงเข้าสมาบัติเนือง ๆ (อภิ.ปญฺจ.อ. 7/40)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :150 }