เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [14. จุททสมนัย] 14. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส5. ทุกะ
5. ทุกะ
[494] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่มีเหตุ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ สภาว-
ธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่
มีเหตุ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 5 อายตนะ 12 และธาตุ 18
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[495] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ สภาวธรรมที่
วิปปยุตจากเหตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 4 อายตนะ 2 และธาตุ 2
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ 1 อายตนะ 10 และธาตุ 16
[496] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง สภาว-
ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่เห็นได้ สภาวธรรมที่กระทบได้
สภาวธรรมที่เป็นรูป สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 4 อายตนะ 2 และธาตุ 8
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ 1 อายตนะ 10 และธาตุ 10
[497] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นโลกิยะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 4 อายตนะ 2 และธาตุ 2
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ 1 อายตนะ 10 และธาตุ 16

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :127 }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [14. จุททสมนัย] 14. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส 5. ทุกะ
[498] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 5 อายตนะ 12 และธาตุ 18
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[499] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่
ไม่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 4 อายตนะ 2 และธาตุ 2
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ 1 อายตนะ 10 และธาตุ 16
[500] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 4 อายตนะ 2 และธาตุ 8
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ 1 อายตนะ 10 และธาตุ 10
[501] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ สภาวธรรมที่
เป็นคันถะ สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ สภาวธรรมที่เป็นโยคะ สภาวธรรมที่
เป็นนิวรณ์ สภาวธรรมที่เป็นปรามาส สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส
สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ 5 อายตนะ 12 และธาตุ 18

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :128 }