เมนู

ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ 36 อภิธรรมปิฎกที่ 03 ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา อุทเทส 1. นยมาติกา

พระอภิธรรมปิฎก
ธาตุกถา
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อุทเทส1
1. นยมาติกา2 (14 นัย)


[1] 1. สงฺคโห อสงฺคโห สภาวธรรมที่สงเคราะห์3เข้าได้ สภาวธรรมที่
สงเคราะห์เข้าไม่ได้ (6-170)
2. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับสภาวธรรมที่
สงเคราะห์เข้าได้ (171-178)
3. อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมที่
สงเคราะห์เข้าไม่ได้ (179-190)
4. สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมที่
สงเคราะห์เข้าได้ (191-192)


เชิงอรรถ :
1 อุทเทส คือ หัวข้อธรรมที่ท่านยกขึ้นไว้เป็นบทตั้ง (อภิ.ปญฺจ.อ. 1/1)
2 นยมาติกา คือ หัวข้อธรรมที่กล่าวถึงการจำแนกขันธ์ 5 เป็นต้น แบ่งออกเป็นนัยต่าง ๆ กัน มี 14 นัย
เรียกมูลมาติกาก็ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 1/1)
3 สงเคราะห์ หมายถึง การรวบรวม การประมวล มี 4 อย่าง คือ (1) ชาติสงเคราะห์ (การรวบรวมสิ่งที่
เสมอกันโดยชาติ) (2) สัญชาติสงเคราะห์ (การรวบรวมสิ่งที่มีแหล่งเกิดจากที่เดียวกัน) (3) กิริยาสงเคราะห์
(การรวบรวมสิ่งที่มีการกระทำร่วมกัน) (4) คณนสงเคราะห์ (การรวบรวมสิ่งที่มีจำนวนเท่ากัน) แต่ในที่นี้
หมายเอาคณนสงเคราะห์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 5/3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :1 }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา อุทเทส 1. นยมาติกา

5. อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับสภาวธรรม
ที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ (193-227)
6. สมฺปโยโค วิปฺปโยโค สภาวธรรมที่สัมปยุต(ประกอบเข้าได้) สภาวธรรม
ที่วิปปยุต(ประกอบเข้าไม่ได้) (228-305)
7. สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสภาวธรรมที่สัมปยุต
(306-316)
8. วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่วิปปยุต
(317-318)
9. สมฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่สัมปยุต
(319-352)
10. วิปฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสภาวธรรมที่วิปปยุต
(353-408)

11. สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้สัมปยุต
และวิปปยุต(จากขันธ์ อายตนะ และธาตุ) (409-
416)
12. สมฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สัมปยุตสงเคราะห์เข้าได้
และสงเคราะห์เข้าไม่ได้(กับขันธ์ อายตนะ และ
ธาตุ) (417-447)
13. อสงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้
สัมปยุตและวิปปยุต(จากขันธ์ อายตนะ และ
ธาตุ) (448-455)
14. วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ สภาวธรรมที่วิปปยุตสงเคราะห์เข้า
ได้และสงเคราะห์เข้าไม่ได้(กับขันธ์ อายตนะ
และธาตุ) (456-518)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 36 หน้า :2 }