เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 3.สัญญาขันธ์
สัญญาใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุ-
สัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นภายในตน
สัญญาที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
สัญญาใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิด
ในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สัญญา
ที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นภาย
นอกตน
[17] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน
สัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส1 (คือสัมผัสที่เกิดทางปัญจทวาร) เป็นสัญญาหยาบ
สัญญาที่เกิดแต่อธิวจนสัมผัส(คือสัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร) เป็นสัญญาละเอียด
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสัญญา
ละเอียด สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็น
สัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุข-
เวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด
พึงทราบสัญญาหยาบ สัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
[18] สัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต เป็นไฉน
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
สัญญาชั้นประณีต สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่เป็น

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงความสัมผัสถูกต้องกันแห่งรูปที่กระทบกันได้ เช่นจักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์เป็นต้น (อภิ.วิ.อ.
17/21)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :8 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 3.สัญญาขันธ์
อัพยากฤตเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาชั้นต่ำ
สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาชั้นต่ำ
สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
สัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาชั้นประณีต
พึงทราบสัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป
[19] สัญญาไกล เป็นไฉน
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศล สัญญาที่
เป็นกุศลเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต สัญญาที่เป็นอกุศล
และอัพยากฤตเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศล สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศลและอกุศล สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญา
ไกลจากสัญญาที่เป็นอัพยากฤต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกล
จากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุข
เวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้า
สมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
นี้เรียกว่า สัญญาไกล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :9 }