เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 3.สัญญาขันธ์
3. สัญญาขันธ์
[14] บรรดาขันธ์ 5 นั้น สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง1 คือ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน สัญญาที่เป็นภายในตน สัญญาที่เป็นภายนอกตน สัญญา
หยาบ สัญญาละเอียด สัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต สัญญาไกล หรือสัญญา
ใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์
[15] ในสัญญาขันธ์นั้น สัญญาที่เป็นอดีต เป็นไฉน
สัญญาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับ
แล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับ
ส่วนอดีต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาที่
เกิดแต่ฆานสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญา
ที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอดีต
สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
สัญญาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่
เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอนาคต
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
สัญญาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน
[16] สัญญาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงสัญญาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ 4 คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. 14/20)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :7 }