เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 6.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร 2.อายุปปมาณะ
มีอารมณ์ต่างกัน เพราะมีมนสิการต่างกัน เพราะมีฉันทะต่างกัน เพราะมีปณิธาน
ต่างกัน1 เพราะมีอธิโมกข์ต่างกัน เพราะมีอภินิหารต่างกัน เพราะมีปัญญาต่างกัน
อายุของอสัญญสัตตเทวดาและเทวดาชั้นเวหัปผลา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 500 กัป (17-18)
อายุของเทวดาชั้นอวิหา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 1,000 กัป (19)
อายุของเทวดาชั้นอตัปปา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 2,000 กัป (20)
อายุของเทวดาชั้นสุทัสสา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 4,000 กัป (21)
อายุของเทวดาชั้นสุทัสสี มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 8,000 กัป (22)
อายุของเทวดาชั้นอกนิฏฐา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 16,000 กัป (23)
[1028] อายุของเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 20,000 กัป (24)
อายุของเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 40,000 กัป (25)
อายุของเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 60,000 กัป (26)
อายุของเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ 84,000 กัป (27)

เชิงอรรถ :
1 คือทำความปรารถนาในปฐวีกสิณเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. 1027/567)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :674 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 7.อภิญเญยยาทิวาร
[1029] เหล่าสัตว์ผู้อันอำนาจแห่งบุญส่งเสริมแล้ว
ไปสู่กามภพและรูปภพหรือไปถึงภวัคคพรหมบ้าง
แต่ยังกลับไปสู่ทุคติภูมิได้อีก
เหล่าสัตว์ที่มีอายุยืนถึงเพียงนั้นก็ยังจุติได้เพราะหมดอายุ
ไม่ว่าภพไหน ๆ ที่ชื่อว่าเที่ยงไม่มี พระผู้มีพระภาคผู้ทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนี้
เพราะฉะนั้นแล เหล่านักปราชญ์ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด
รอบคอบคำนึงถึงความจริงข้อนี้ จึงเจริญมรรคอันสูงสุด
เพื่อพ้นจากชรามรณะ
ครั้นเจริญมรรคที่บริสุทธิ์สะอาดซึ่งมีปกติยังสัตว์ให้หยั่ง
ถึงนิพพานแล้ว จึงเป็นผู้ปราศจากอาสวะ ปรินิพพานเพราะ
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงฉะนี้แล

7. อภิญเญยยาทิวาร
(วาระว่าด้วยธรรมที่พึงรู้ยิ่งเป็นต้น)
[1030] บรรดาขันธ์ 5 ขันธ์เท่าไรพึงรู้ยิ่ง เท่าไรพึงกำหนดรู้ เท่าไรพึงละ
เท่าไรพึงเจริญ เท่าไรพึงทำให้แจ้ง เท่าไรไม่พึงละ เท่าไรไม่พึงเจริญ เท่าไรไม่พึง
ทำให้แจ้ง ฯลฯ บรรดาจิต 7 จิตเท่าไรพึงรู้ยิ่ง เท่าไรพึงกำหนดรู้ เท่าไรพึงละ
เท่าไรพึงเจริญ เท่าไรพึงทำให้แจ้ง เท่าไรไม่พึงละ เท่าไรไม่พึงเจริญ เท่าไรไม่พึง
ทำให้แจ้ง
[1031] รูปขันธ์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
ขันธ์ 4 พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (1)
อายตนะ 10 พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
อายตนะ 2 พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :675 }