เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 2.รูปธาตุ
อกุศลเหตุ 2 เป็นไฉน
อกุศลเหตุ 2 คือ อกุศลเหตุคือโลภะ และอกุศลเหตุคือโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลเหตุ 2
อัพยากตเหตุ 3 เป็นไฉน
อัพยากตเหตุ 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิปากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศล หรือในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ 3
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ 8 ในรูปธาตุ (6)
อาหาร 3 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อาหาร 3 ในรูปธาตุ คือ
1. ผัสสาหาร 2. มโนสัญเจตนาหาร
3. วิญญาณาหาร
เหล่านี้เรียกว่า อาหาร 3 ในรูปธาตุ (7)
ผัสสะ 4 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ 4 ในรูปธาตุ คือ

1. จักขุสัมผัส 2. โสตสัมผัส
3. มโนธาตุสัมผัส 4. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส

เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ 4 ในรูปธาตุ (8)
เวทนา 4 ฯลฯ สัญญา 4 ฯลฯ เจตนา 4 ฯลฯ จิต 4 ในรูปธาตุ
เป็นไฉน
จิต 4 ในรูปธาตุ คือ

1. จักขุวิญญาณ 2. โสตวิญญาณ
3. มโนธาตุ 4. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า จิต 4 ในรูปธาตุ (9-12)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :644 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 3.อรูปธาตุ
3. อรูปธาตุ
(ธาตุในอรูปภูมิ)
[995] ในอรูปธาตุ ขันธ์มีเท่าไร ฯลฯ จิตมีเท่าไร
ในอรูปธาตุ ขันธ์มี 4 อายตนะมี 2 ธาตุมี 2 สัจจะมี 3 อินทรีย์มี 11
เหตุมี 8 อาหารมี 3 ผัสสะมี 1 เวทนามี 1 สัญญามี 1 เจตนามี 1 จิต
มี 1
[996] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ 4 ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
ขันธ์ 4 ในอรูปธาตุ คือ
1. เวทนาขันธ์ 2. สัญญาขันธ์
3. สังขารขันธ์ 4. วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ 4 ในอรูปธาตุ (1)
อายตนะ 2 ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
อายตนะ 2 ในอรูปธาตุ คือ มนายตนะ และธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ 2 ในอรูปธาตุ (2)
ธาตุ 2 ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ 2 ในอรูปธาตุ คือ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 2 ในอรูปธาตุ (3)
สัจจะ 3 ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ 3 ในอรูปธาตุ คือ
1. ทุกขสัจ 2. สมุทยสัจ
3. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ 3 ในอรูปธาตุ (4)
อินทรีย์ 11 ในอรูปธาตุ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :645 }