เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 2.รูปธาตุ
ธาตุ 9 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ 9 ในรูปธาตุ คือ
1. จักขุธาตุ 2. รูปธาตุ 3. จักขุวิญญาณธาตุ
4. โสตธาตุ 5. สัททธาตุ 6. โสตวิญญาณธาตุ
7. มโนธาตุ 8. ธัมมธาตุ 9. มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 9 ในรูปธาตุ (3)
สัจจะ 3 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ 3 ในรูปธาตุ คือ
1. ทุกขสัจ 2. สมุทยสัจ
3. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ 3 ในรูปธาตุ (4)
อินทรีย์ 14 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อินทรีย์ 14 ในรูปธาตุ คือ

1. จักขุนทรีย์ 2. โสตินทรีย์
3. มนินทรีย์ 4. ชีวิตินทรีย์
5. โสมนัสสินทรีย์ 6. อุเปกขินทรีย์
7. สัทธินทรีย์ 8. วิริยินทรีย์
9. สตินทรีย์ 10. สมาธินทรีย์
11. ปัญญินทรีย์ 12. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
13. อัญญินทรีย์ 14. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ 14 ในรูปธาตุ (5)
เหตุ 8 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
เหตุ 8 ในรูปธาตุ คือ กุศลเหตุ 3 อกุศลเหตุ 2 และอัพยากตเหตุ 3
บรรดาเหตุ 8 นั้น กุศลเหตุ 3 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
กุศลเหตุ 3 ในรูปธาตุ คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ และ
กุศลเหตุคืออโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่ากุศลเหตุ 3

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :643 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 2.รูปธาตุ
อกุศลเหตุ 2 เป็นไฉน
อกุศลเหตุ 2 คือ อกุศลเหตุคือโลภะ และอกุศลเหตุคือโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลเหตุ 2
อัพยากตเหตุ 3 เป็นไฉน
อัพยากตเหตุ 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิปากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศล หรือในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ 3
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ 8 ในรูปธาตุ (6)
อาหาร 3 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อาหาร 3 ในรูปธาตุ คือ
1. ผัสสาหาร 2. มโนสัญเจตนาหาร
3. วิญญาณาหาร
เหล่านี้เรียกว่า อาหาร 3 ในรูปธาตุ (7)
ผัสสะ 4 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ 4 ในรูปธาตุ คือ

1. จักขุสัมผัส 2. โสตสัมผัส
3. มโนธาตุสัมผัส 4. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส

เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ 4 ในรูปธาตุ (8)
เวทนา 4 ฯลฯ สัญญา 4 ฯลฯ เจตนา 4 ฯลฯ จิต 4 ในรูปธาตุ
เป็นไฉน
จิต 4 ในรูปธาตุ คือ

1. จักขุวิญญาณ 2. โสตวิญญาณ
3. มโนธาตุ 4. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า จิต 4 ในรูปธาตุ (9-12)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :644 }