เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 1.กามธาตุ

1. จักขุธาตุ 2. รูปธาตุ 3. จักขุวิญญาณธาตุ

ฯลฯ

16. มโนธาตุ 17. ธัมมธาตุ 18. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 18 ในกามธาตุ (3)
สัจจะ 3 ในกามธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ 3 ในกามธาตุ คือ
1. ทุกขสัจ 2. สมุทยสัจ
3. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ 3 ในกามธาตุ (4)
อินทรีย์ 22 ในกามธาตุ เป็นไฉน
อินทรีย์ 22 ในกามธาตุ คือ
1. จักขุนทรีย์ 2. โสตินทรีย์
ฯลฯ
22. อัญญาตาวินทรีย์
เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ 22 ในกามธาตุ (5)
เหตุ 9 ในกามธาตุ เป็นไฉน
เหตุ 9 ในกามธาตุ คือ กุศลเหตุ 3 อกุศลเหตุ 3 และอัพยากตเหตุ 3 ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ 9 ในกามธาตุ (6)
อาหาร 4 ในกามธาตุ เป็นไฉน
อาหาร 4 ในกามธาตุ คือ

1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว)
2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

เหล่านี้เรียกว่า อาหาร 4 ในกามธาตุ (7)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :640 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 1.กามธาตุ
ผัสสะ 7 ในกามธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ 7 ในกามธาตุ คือ
1. จักขุสัมผัส
ฯลฯ
7. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ 7 ในกามธาตุ (8)
เวทนา 7 ในกามธาตุ เป็นไฉน
เวทนา 7 ในกามธาตุ คือ
1. เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
7. เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เวทนา 7 ในกามธาตุ (9)
สัญญา 7 ในกามธาตุ เป็นไฉน
สัญญา 7 ในกามธาตุ คือ
1. สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
7. สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า สัญญา 7 ในกามธาตุ (10)
เจตนา 7 ในกามธาตุ เป็นไฉน
เจตนา 7 ในกามธาตุ คือ
1. เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
7. เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เจตนา 7 ในกามธาตุ (11)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :641 }