เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 1.กามธาตุ
2. อุปปัตตานุปปัตติวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงสภาวธรรมที่เกิดได้และไม่ได้)
1. กามธาตุ
(ธาตุในกามภูมิ)
[991] ในกามธาตุ ขันธ์มีเท่าไร อายตนะมีเท่าไร ธาตุมีเท่าไร สัจจะ
มีเท่าไร อินทรีย์มีเท่าไร เหตุมีเท่าไร อาหารมีเท่าไร ผัสสะมีเท่าไร เวทนา
มีเท่าไร สัญญามีเท่าไร เจตนามีเท่าไร จิตมีเท่าไร
ในกามธาตุ ขันธ์มี 5 อายตนะมี 12 ธาตุมี 18 สัจจะมี 3 อินทรีย์มี
22 เหตุมี 9 อาหารมี 4 ผัสสะมี 7 เวทนามี 7 สัญญามี 7 เจตนามี 7
จิตมี 7
[992] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ 5 ในกามธาตุ เป็นไฉน
ขันธ์ 5 ในกามธาตุ คือ

1. รูปขันธ์ 2. เวทนาขันธ์
3. สัญญาขันธ์ 4. สังขารขันธ์
5. วิญญาณขันธ์

เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ 5 ในกามธาตุ (1)
อายตนะ 12 ในกามธาตุ เป็นไฉน
อายตนะ 12 ในกามธาตุ คือ
1. จักขายตนะ 2. รูปายตนะ
ฯลฯ
11. มนายตนะ 12. ธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ 12 ในกามธาตุ (2)
ธาตุ 18 ในกามธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ 18 ในกามธาตุ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :639 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 1.กามธาตุ

1. จักขุธาตุ 2. รูปธาตุ 3. จักขุวิญญาณธาตุ

ฯลฯ

16. มโนธาตุ 17. ธัมมธาตุ 18. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 18 ในกามธาตุ (3)
สัจจะ 3 ในกามธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ 3 ในกามธาตุ คือ
1. ทุกขสัจ 2. สมุทยสัจ
3. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ 3 ในกามธาตุ (4)
อินทรีย์ 22 ในกามธาตุ เป็นไฉน
อินทรีย์ 22 ในกามธาตุ คือ
1. จักขุนทรีย์ 2. โสตินทรีย์
ฯลฯ
22. อัญญาตาวินทรีย์
เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ 22 ในกามธาตุ (5)
เหตุ 9 ในกามธาตุ เป็นไฉน
เหตุ 9 ในกามธาตุ คือ กุศลเหตุ 3 อกุศลเหตุ 3 และอัพยากตเหตุ 3 ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ 9 ในกามธาตุ (6)
อาหาร 4 ในกามธาตุ เป็นไฉน
อาหาร 4 ในกามธาตุ คือ

1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว)
2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

เหล่านี้เรียกว่า อาหาร 4 ในกามธาตุ (7)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :640 }