เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 1.สัพพสังคาหิกวาร
[984] เหตุ 9 เป็นไฉน
เหตุ 9 คือ
กุศลเหตุ 3 อกุศลเหตุ 3 และอัพยากตเหตุ 3
บรรดาเหตุ 9 เหล่านั้น กุศลเหตุ 3 เป็นไฉน
กุศลเหตุ 3 คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ และกุศลเหตุคือ
อโมหะ เหล่านี้ชื่อว่ากุศลเหตุ 3
อกุศลเหตุ 3 เป็นไฉน
อกุศลเหตุ 3 คือ อกุศลเหตุคือโลภะ อกุศลเหตุคือโทสะ และอกุศลเหตุ
คือโมหะ เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลเหตุ 3
อัพยากตเหตุ 3 เป็นไฉน
อัพยากตเหตุ 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศล หรือในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ 3
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ 9 (6)
[985] อาหาร 4 เป็นไฉน
อาหาร 4 คือ

1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว)
2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

เหล่านี้เรียกว่า อาหาร 4 (7)
[986] ผัสสะ 7 เป็นไฉน
ผัสสะ 7 คือ

1. จักขุสัมผัส 2. โสตสัมผัส
3. ฆานสัมผัส 4. ชิวหาสัมผัส
5. กายสัมผัส 6. มโนธาตุสัมผัส
7. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส

เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ 7 (8)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :637 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 1.สัพพสังคาหิกวาร
[987] เวทนา 7 เป็นไฉน
เวทนา 7 คือ
1. เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส 2. เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
3. เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส 4. เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
5. เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส 6. เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
7. เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เวทนา 7 (9)
[988] สัญญา 7 เป็นไฉน
สัญญา 7 คือ
1. สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส 2. สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
3. สัญญาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส 4. สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
5. สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส 6. สัญญาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
7. สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า สัญญา 7 (10)
[989] เจตนา 7 เป็นไฉน
เจตนา 7 คือ
1. เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส 2. เจตนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
3. เจตนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส 4. เจตนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
5. เจตนาที่เกิดแต่กายสัมผัส 6. เจตนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
7. เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เจตนา 7 (11)
[990] จิต 7 เป็นไฉน
จิต 7 คือ
1. จักขุวิญญาณ 2. โสตวิญญาณ
3. ฆานวิญญาณ 4. ชิวหาวิญญาณ
5. กายวิญญาณ 6. มโนธาตุ
7. มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า จิต 7 (12)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :638 }