เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18. ธัมมหทยวิภังค์] 1. สัพพสังคาหิกวาร
18. ธัมมหทยวิภังค์
1. สัพพสังคาหิกวาร
(วาระว่าด้วยการรวบรวมสภาวธรรมทั้งหมด)
[978] ขันธ์มีเท่าไร อายตนะมีเท่าไร ธาตุมีเท่าไร สัจจะมีเท่าไร อินทรีย์
มีเท่าไร เหตุมีเท่าไร อาหารมีเท่าไร ผัสสะมีเท่าไร เวทนามีเท่าไร สัญญามีเท่าไร
เจตนามีเท่าไร จิตมีเท่าไร
ขันธ์มี 5 อายตนะมี 12 ธาตุมี 18 สัจจะมี 4 อินทรีย์มี 22 เหตุมี 9
อาหารมี 4 ผัสสะมี 7 เวทนามี 7 สัญญามี 7 เจตนามี 7 จิตมี 7
[979] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ 5 เป็นไฉน
ขันธ์มี 5 คือ

1. รูปขันธ์ 2. เวทนาขันธ์
3. สัญญาขันธ์ 4. สังขารขันธ์
5. วิญญาณขันธ์

เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ 5 (1)
[980] อายตนะ 12 เป็นไฉน
อายตนะ 12 คือ

1. จักขายตนะ 2. รูปายตนะ
3. โสตายตนะ 4. สัททายตนะ
5. ฆานายตนะ 6. คันธายตนะ
7. ชิวหายตนะ 8. รสายตนะ
9. กายายตนะ 10. โผฏฐัพพายตนะ
11. มนายตนะ 12. ธัมมายตนะ

เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ 12 (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :635 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 1.สัพพสังคาหิกวาร
[981] ธาตุ 18 เป็นไฉน
ธาตุ 18 คือ

1. จักขุธาตุ 2. รูปธาตุ 3. จักขุวิญญาณธาตุ
4. โสตธาตุ 5. สัททธาตุ 6. โสตวิญญาณธาตุ
7. ฆานธาตุ 8. คันธธาตุ 9. ฆานวิญญาณธาตุ
10. ชิวหาธาตุ 11. รสธาตุ 12. ชิวหาวิญญาณธาตุ
13. กายธาตุ 14. โผฏฐัพพธาตุ 15. กายวิญญาณธาตุ
16. มโนธาตุ 17. ธัมมธาตุ 18. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 18 (3)
[982] สัจจะ 4 เป็นไฉน
สัจจะ 4 คือ
1. ทุกขสัจ 2. สมุทยสัจ
3. มัคคสัจ 4. นิโรธสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ 4 (4)
[983] อินทรีย์ 22 เป็นไฉน
อินทรีย์ 22 คือ

1. จักขุนทรีย์ 2. โสตินทรีย์
3. ฆานินทรีย์ 4. ชิวหินทรีย์
5. กายินทรีย์ 6. มนินทรีย์
7. อิตถินทรีย์ 8. ปุริสินทรีย์
9. ชีวิตินทรีย์ 10. สุขินทรีย์
11. ทุกขินทรีย์ 12. โสมนัสสินทรีย์
13. โทมนัสสินทรีย์ 14. อุเปกขินทรีย์
15. สัทธินทรีย์ 16. วิริยินทรีย์
17. สตินทรีย์ 18. สมาธินทรีย์
19. ปัญญินทรีย์ 20. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
21. อัญญินทรีย์ 22. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ 22 (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :636 }