เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
พรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมไม่มีสัญญา
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่าตัณหาว่า พึงเป็นอย่างนี้ด้วย
รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (16)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็น
อย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น
กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ เราก็
พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง ฯลฯ หรือว่าเขา
เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า
เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (17)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง
เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ แต่
เราไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ หรือว่า
เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า
เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (18)
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหาวิจริต 18 อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก
ตัณหาวิจริต 18 เหล่านี้อาศัยเบญจขันธ์ภายใน ตัณหาวิจริต 18 เหล่านี้
อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก ด้วยประการฉะนี้
ประมวลย่อเข้าเป็นอันเดียวกัน เป็นตัณหาวิจริต 36
ตัณหาวิจริตตามที่กล่าวมานี้เป็นอดีต 36 เป็นอนาคต 36 เป็นปัจจุบัน 36
ประมวลย่อเข้าเป็นอันเดียวกัน เป็นตัณหาวิจริต 108

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :633 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
[977] บรรดามาติกานั้น ทิฏฐิ 62 ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพรหม-
ชาลสูตร เป็นไฉน
ทิฏฐิ 62 คือ

1. สัสสตวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกเที่ยง) 4
2. เอกัจจสัสสติกวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกเที่ยงบางอย่าง) 4
3. อันตานันติกวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกไม่มีที่สุด) 4
4. อมราวิกเขปิกวาทะ (วาทะที่ลี้หลบเลี่ยงไม่แน่นอน) 4
5. อธิจจสมุปปันนิกวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย) 2
6. สัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญา) 16
7. อสัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา) 8
8. เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ไม่
มีสัญญาก็มิใช่) 8
9. อุจเฉทวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วขาดสูญ) 7
10. ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (วาทะว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานปัจจุบัน) 5

ทิฏฐิ 62 เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร

ขุททกวัตถุวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :634 }