เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราจักไม่เป็นพรหมมี
สัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น
ก็มี (8)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน
เราคงทน เราไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง
ก็มี (9)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยง เป็นอย่างไร
บุคคลไม่จำแนกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ
จักพินาศ จักไม่มี อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงก็มี (10)
ตัณหาว่า เราพึงเป็น เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็น ได้มานะ
ว่าเราพึงเป็น ได้ทิฏฐิว่าเราพึงเป็น เมื่อสภาวธรรมทั้ง 3 นั้นมีอยู่ สภาวธรรม
เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น หรือว่าเราพึง
เป็นโดยประการอื่นก็มี (11)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์ พึงเป็นแพศย์หรือเป็นศูทร
พึงเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต พึงเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ พึงเป็นพรหมมีรูป
หรือเป็นพรหมไม่มีรูป พึงเป็นพรหมมีสัญญาหรือเป็นพรหมไม่มีสัญญา หรือพึงเป็น
ผู้มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ก็มี (12)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น
กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :625 }