เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 10.ทสกนิทเทส
[969] สังโยชน์ 10 เป็นไฉน
สังโยชน์ 10 คือ

1. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ)
2. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ)
3. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ)
4. ทิฏฐิสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือทิฏฐิ)
5. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา)
6. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือสีลัพ-
พตปรามาส)
7. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ)
8. อิสสาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออิสสา)
9. มัจฉริยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมัจฉริยะ
10. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)

เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ 10
[970] มิจฉัตตะ 10 เป็นไฉน
มิจฉัตตะ 10 คือ

1. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) 2. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
3. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) 4. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
5. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) 6. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
7. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) 8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
9. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) 10. มิจฉาวิมุตติ (พ้นผิด)

เหล่านี้ชื่อว่ามิจฉัตตะ 10
[971] มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 เป็นไฉน
มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :620 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 10.ทสกนิทเทส

1. ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล
2. ความเห็นว่า การบูชาไม่มีผล
3. ความเห็นว่า การเซ่นสรวงไม่มีผล
4. ความเห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี
5. ความเห็นว่า โลกนี้ไม่มี
6. ความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี
7. ความเห็นว่า มารดาไม่มีคุณ
8. ความเห็นว่า บิดาไม่มีคุณ
9. ความเห็นว่า สัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะไม่มี
10. ความเห็นว่า สมณะพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่ง
เห็นจริงแจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ไม่มีในโลก

นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10
[972] อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10 เป็นไฉน
อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10 คือ

1. ความเห็นว่า โลกเที่ยง
2. ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง
3. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด
4. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด
5. ความเห็นว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
6. ความเห็นว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
7. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคต1 เกิดอีก
8. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
9. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่
เกิดอีกก็มี


เชิงอรรถ :
1 ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึง สัตตะ (ที.สี.อ. 65/108)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :621 }