เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 9.นวกนิทเทส
8. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
9. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
เหล่านี้ชื่อว่ามานะ 9
[963] ตัณหามูลกธรรม 9 เป็นไฉน
ตัณหามูลกธรรม 9 คือ

1. เพราะอาศัยตัณหา การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
2. เพราะอาศัยการแสวงหา การได้จึงเกิดขึ้น
3. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น
4. เพราะอาศัยการวินิจฉัย ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
5. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น
6. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น
7. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น
8. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น

9. เพราะอาศัยการรักษา สภาวธรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลหลายประการ คือ
การถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การพูดขึ้นมึงกู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จจึงเกิดขึ้น
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหามูลกธรรม 9
[964] อิญชิตะ 9 เป็นไฉน
อิญชิตะ 9 คือ
1. ความหวั่นไหวว่า เรามี
2. ความหวั่นไหวว่า เราเป็น
3. ความหวั่นไหวว่า เราเป็นสิ่งนี้
4. ความหวั่นไหวว่า เราจักมี
5. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
6. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
7. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :617 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 10.ทสกนิทเทส
8. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
9. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
เหล่านี้ชื่อว่าอิญชิตะ 9
[965] มัญญิตะ 9 ฯลฯ ผันทิตะ 9 ฯลฯ ปปัญจิตะ 9 ฯลฯ
สังขตะ 9 เป็นไฉน
สังขตะ 9 คือ
1. ความปรุงแต่งว่า เรามี
2. ความปรุงแต่งว่า เราเป็น
3. ความปรุงแต่งว่า เราเป็นสิ่งนี้
4. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี
5. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
6. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
7. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
8. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
9. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
เหล่านี้ชื่อว่าสังขตะ 9
นวกนิทเทส จบ

10. ทสกนิทเทส
[966] บรรดาทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ 10 เป็นไฉน
กิเลสวัตถุ 10 คือ

1. โลภะ (ความโลภ) 2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. โมหะ (ความหลง) 4. มานะ (ความถือตัว)
5. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) 6. วิจิกิจฉา (ความสงสัย)
7. ถีนะ (ความหดหู่) 8. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
9. อหิริกะ (ความไม่ละอายบาป) 10. อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป)

เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสวัตถุ 10

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :618 }