เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 8.อัฏฐกนิทเทส
8. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
ทำไมหนอ ท่านจึงวุ่นวายกับกระผมนัก บัดนี้กระผมจักลาสิกขาไปเป็น
คฤหัสถ์ เธอก็ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้า
บัดนี้แลท่านคงพอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ 8
เหล่านี้ชื่อว่าบุรุษโทษ 8
[958] อสัญญีวาทะ 8 เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า
1. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน1 หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
2. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
3. อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
4. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
5. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
6. อัตตาไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
7. อัตตามีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
8. อัตตามีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
เหล่านี้ชื่อว่าอสัญญีวาทะ 8
[959] เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ 8 เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า
1. อัตตามีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
2. อัตตาไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
3. อัตตาที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่
4. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่

เชิงอรรถ :
1 คำว่า ยั่งยืน ตรงกับคำบาลีว่า อโรโค แปลว่า ไม่มีโรค ไม่มีการทรุดโทรม หรือไม่มีความเปลี่ยนแปลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :614 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 9.นวกกนิทเทส
5. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
6. อัตตาไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่
7. อัตตามีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่
8. อัตตามีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
เหล่านี้ชื่อว่าเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ 8
อัฏฐกนิทเทส จบ

9. นวกนิทเทส
[960] บรรดานวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ 9 เป็นไฉน
อาฆาตวัตถุ 9 คือ

1. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา
2. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา
3. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา
4. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่
ชอบพอของเรา
5. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรา
6. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่
ชอบพอของเรา
7. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่ชอบพอของเรา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :615 }