เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 8.อัฏฐกนิทเทส

1. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) 2. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
3. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) 4. มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด)
5. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) 6. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
7. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) 8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

เหล่านี้ชื่อว่ามิจฉัตตะ 8
[957] บุรุษโทษ 8 เป็นไฉน
บุรุษโทษ 8 คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นแก้ตัว
โดยการอ้างว่าไม่มีสติอย่างนี้ว่า เราระลึกไม่ได้ เราระลึกไม่ได้ นี้ชื่อว่า
บุรุษโทษข้อที่ 1
2. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโต้ตอบผู้โจทว่า
การพูดกับท่านผู้โง่เขลา ไม่ฉลาดจะมีประโยชน์อะไร แม้ท่านก็ยังเข้าใจ
ผมว่าควรว่ากล่าว นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ 2
3. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกลับปรับอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้โจทนั่นว่า ถึงท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงแสดงอาบัตินั้นเสียก่อน นี้
ชื่อว่าบุรษโทษข้อที่ 3
4. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นยกเหตุอื่น ๆ มาพูด
กลบเกลื่อน พูดชักให้เขวไปนอกเรื่อง เคือง แสดงความโกรธ เคืองและ
อาการไม่พอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ 4
5. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโบกมือปฏิเสธในท่าม
กลางสงฆ์ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ 5
6. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นนิ่งเฉยเสียด้วยคิดว่า
เราไม่ต้องอาบัติเลย แต่ความจริงเราต้องอาบัติ แกล้งสงฆ์ให้ลำบาก นี้
ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ 6
7. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่
เอื้อเฟื้อโจท หลีกไปตามชอบใจ ทั้งที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ นี้ชื่อว่าบุรุษ
โทษข้อที่ 7

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :613 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 8.อัฏฐกนิทเทส
8. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
ทำไมหนอ ท่านจึงวุ่นวายกับกระผมนัก บัดนี้กระผมจักลาสิกขาไปเป็น
คฤหัสถ์ เธอก็ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้า
บัดนี้แลท่านคงพอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ 8
เหล่านี้ชื่อว่าบุรุษโทษ 8
[958] อสัญญีวาทะ 8 เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า
1. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน1 หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
2. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
3. อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
4. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
5. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
6. อัตตาไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
7. อัตตามีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
8. อัตตามีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
เหล่านี้ชื่อว่าอสัญญีวาทะ 8
[959] เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ 8 เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า
1. อัตตามีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
2. อัตตาไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
3. อัตตาที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่
4. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่

เชิงอรรถ :
1 คำว่า ยั่งยืน ตรงกับคำบาลีว่า อโรโค แปลว่า ไม่มีโรค ไม่มีการทรุดโทรม หรือไม่มีความเปลี่ยนแปลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :614 }