เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 7.สัตตกนิทเทส
4. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
อากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้ว
ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึง
ขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความ
พินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
5. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้
เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา
รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด
อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด
อีกของสัตว์อย่างนี้
6. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า อะไร ๆ ก็ไม่มี เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา
รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด
อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด
อีกของสัตว์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :609 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 8.อัฏฐกนิทเทส
7. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตา
นี้ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้โดย
ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลัง
จากตายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล
อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความ
ขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ 7
สัตตกนิทเทส จบ

8. อัฏฐกนิทเทส
[952] บรรดาอัฏฐกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ 8 เป็นไฉน
กิเลสวัตถุ 8 คือ

1. โลภะ (ความโลภ) 2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. โมหะ (ความหลง) 4. มานะ (ความถือตัว)
5. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) 6. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
7. ถีนะ (ความหดหู่ท้อแท้) 8. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสวัตถุ 8
[953] กุสีตวัตถุ 8 เป็นไฉน
กุสีตวัตถุ 8 คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีการงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง
ทำการงาน แต่เมื่อเรากำลังทำการงานอยู่จักลำบากกาย เอาละ เรานอนดี
กว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ 1

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :610 }