เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 7.สัตตกนิทเทส
[948] ทิฏฐิ1 6 เป็นไฉน
ทิฏฐิ 6 คือ
1. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่
2. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี
3. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้
ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน)
4. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตา
(ความไม่มีตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน)
5. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้
ด้วยอนัตตา (ความไม่มีตัวตน)
6. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้น
เป็นผู้กล่าว เป็นผู้รู้ เสวยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วในภพ
นั้น ๆ สิ้นกาลนาน อัตตานั้นไม่เกิด ไม่มีมาแล้วในอดีต
อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต อัตตาเป็นสภาวะที่เที่ยง
ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ 6 (14)
ฉักกนิทเทส จบ

7. สัตตกนิทเทส
[949] บรรดาสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย 7 เป็นไฉน
อนุสัย 7 คือ
1. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือกามราคะ)
2. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือปฏิฆะ)
3. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ)

เชิงอรรถ :
1 ทิฏฐิ ความเห็นผิด ในที่นี้หมายถึงสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.วิ.อ. 948/551-552)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :605 }