เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 6. ฉักกนิเทส
2. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในเสียงอันไม่เป็นที่ชอบใจ
3. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันไม่เป็นที่ชอบใจ
4. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในรสอันไม่เป็นที่ชอบใจ
5. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่ชอบใจ
6. ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวย
อารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยา
ที่เสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่
อาศัยกามคุณในธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่ชอบใจ
เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตโทมนัส 6 (12)
เคหสิตุเปกขา1 6 เป็นไฉน
เคหสิตุเปกขา 6 คือ
1. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ความไม่สำราญทางใจก็มิใช่ ความ
เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณ
ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
2. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
3. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
4. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
5. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา
6. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ความไม่สำราญทางใจก็มิใช่ ความ
เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณ
ในธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตุเปกขา 6 (13)

เชิงอรรถ :
1 อุเปกขาเวทนาที่สัมปยุตด้วยความไม่รู้ ได้แก่ อัญญาณุเปกขาที่อาศัยกามคุณ 5 (อภิ.วิ.อ. 947/551)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :604 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 7.สัตตกนิทเทส
[948] ทิฏฐิ1 6 เป็นไฉน
ทิฏฐิ 6 คือ
1. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่
2. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี
3. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้
ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน)
4. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตา
(ความไม่มีตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน)
5. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้
ด้วยอนัตตา (ความไม่มีตัวตน)
6. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้น
เป็นผู้กล่าว เป็นผู้รู้ เสวยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วในภพ
นั้น ๆ สิ้นกาลนาน อัตตานั้นไม่เกิด ไม่มีมาแล้วในอดีต
อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต อัตตาเป็นสภาวะที่เที่ยง
ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ 6 (14)
ฉักกนิทเทส จบ

7. สัตตกนิทเทส
[949] บรรดาสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย 7 เป็นไฉน
อนุสัย 7 คือ
1. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือกามราคะ)
2. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือปฏิฆะ)
3. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ)

เชิงอรรถ :
1 ทิฏฐิ ความเห็นผิด ในที่นี้หมายถึงสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.วิ.อ. 948/551-552)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :605 }