เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 6.ฉักกนิทเทส
5. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
6. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัส
เหล่านี้ชื่อว่าโสมนัสสุปวิจาร 6 (8)
โทมนัสสุปวิจาร 6 เป็นไฉน
โทมนัสสุปวิจาร 6 คือ
1. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
2. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ
3. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
4. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
5. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
6. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งโทมนัส
เหล่านี้ชื่อว่าโทมนัสสุปวิจาร 6 (9)
อุเปกขูปวิจาร 6 เป็นไฉน
อุเปกขูปวิจาร 6 คือ
1. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
2. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ
3. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
4. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
5. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
6. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เหล่านี้ชื่อว่าอุเปกขูปวิจาร 6

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :602 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 6.ฉักกนิทเทส
[947] เคหสิตโสมนัส1 6 เป็นไฉน
เคหสิตโสมนัส 6 คือ
1. ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่
สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่
สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณในรูป
อันเป็นที่ชอบใจ
2. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ชอบใจ
3. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ชอบใจ
4. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ชอบใจ
5. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ชอบใจ
6. ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์
ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์
ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณใน
ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ชอบใจ
เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตโสมนัส 6 (11)
เคหสิตโทมนัส2 6 เป็นไฉน
เคหสิตโทมนัส 6 คือ
1. ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวย
อารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัย
กามคุณในรูปอันไม่เป็นที่ชอบใจ

เชิงอรรถ :
1 โสมนัส หมายถึงสุขทางใจที่อาศัยกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (อภิ.วิ.อ. 947/551)
2 โทมนัสคือทุกข์ทางใจที่อาศัยกามคุณ 5 (อภิ.วิ.อ. 947/551)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :603 }