เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 6.ฉักกนิทเทส
1. ความอาฆาต ความกระทบแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบานในรูปที่ไม่น่าชอบใจ
2. ความอาฆาต ฯลฯ ในเสียงที่ไม่น่าชอบใจ
3. ความอาฆาต ฯลฯ ในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ
4. ความอาฆาต ฯลฯ ในรสที่ไม่น่าชอบใจ
5. ความอาฆาต ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจ
6. ความอาฆาต ฯลฯ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ
ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบานใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า วิโรธวัตถุ 6 (3)
ตัณหากาย 6 เป็นไฉน
ตัณหากาย 6 คือ

1. รูปตัณหา (ตัณหาในรูป)
2. สัททตัณหา (ตัณหาในเสียง)
3. คันธตัณหา (ตัณหาในกลิ่น)
4. รสตัณหา (ตัณหาในรส)
5. โผฏฐัพพตัณหา (ตัณหาในโผฏฐัพพะ)
6. ธัมมตัณหา (ตัณหาในธรรม)

เหล่านี้ชื่อว่าตัณหากาย 6 (4)
[945] อคารวะ 6 เป็นไฉน
อคารวะ 6 คือ
1. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา
2. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรม
3. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์
4. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในสิกขา
5. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาท
6. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในปฏิสันถาร
เหล่านี้ชื่อว่าอคารวะ 6 (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :600 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 6.ฉักกนิทเทส
ปริหานิยธรรม 6 เป็นไฉน
ปริหานิยธรรม 6 คือ
1. กัมมารามตา (ความยินดีในการงาน)
2. ภัสสารามตา (ความยินดีในการสนทนา)
3. นิททารามตา (ความยินดีในการนอนหลับ)
4. สังคณิการามตา (ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่)
5. สังสัคคารามตา (ความยินดีในการติดต่อเกี่ยวข้อง)
6. ปปัญจารามตา (ความยินดีในธรรมเป็นเหตุเนิ่นช้า)
เหล่านี้ชื่อว่าปริหานิยธรรม 6 (6)
[946] ปริหานิยธรรม 6 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ปริหานิยธรรม 6 อีกนัยหนึ่ง คือ

1. กัมมารามตา (ความยินดีในการทำงาน)
2. ภัสสารามตา (ความยินดีในการสนทนา)
3. นิททารามตา (ความยินดีในการนอนหลับ)
4. สังคณิการามตา (ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่)
5. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
6. ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว)

เหล่านี้ชื่อว่าปริหานิยธรรม 6 (7)
โสมนัสสุปวิจาร1 6 เป็นไฉน
โสมนัสสุปวิจาร 6 คือ
1. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้วครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
2. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ
3. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
4. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 โสมนสฺเสน สทฺธึ อุปจรนฺตีติ โสมนสฺสุปวิจารา (อภิ.วิ.อ. 946/551)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :601 }