เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 5. ปัญจกนิทเทส
3. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ
เหตุไร เพราะวิตกวิจารที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บัณฑิตกล่าวว่ายังเป็นของ
หยาบอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไปแล้ว อัตตานี้จึงบรรลุทุติยฌานที่
ผ่องใส ฯลฯ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะ
หรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของ
สัตว์อย่างนี้
4. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า อัตตา
ที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ใช่บรรลุ
นิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะเหตุไร
เพราะปีติและความลำพองใจที่มีอยู่ในทุติยฌานนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่ายัง
หยาบอยู่ เพราะปีติจางคลายไป อัตตานี้ ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตา
นี้จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์
พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้
5. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้
เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่
ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ
เหตุไร เพราะจิตยังคำนึงถึงสุขมีอยู่ในตติยฌานนั้น บัญฑิตกล่าวว่ายัง
หยาบอยู่ เพราะเหตุที่ละสุขและทุกข์เสียได้ อัตตานี้ ฯลฯ จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า
บรรลุนิพพานในปัจจุบันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้1
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ 5 (15)
ปัญจกนิทเทส จบ

เชิงอรรถ :
1 ที.สี. 9/94-98/36-38

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :598 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 6.ฉักกนิทเทส
6. ฉักกนิทเทส
[944] บรรดาฉักกมาติกาเหล่านั้น วิวาทมูล 6 เป็นไฉน
วิวาทมูล 6 คือ

1. โกธะ (โกรธ)
2. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)
3. อิสสา (ริษยา)
4. สาเถยยะ (โอ้อวด)
5. ปาปิจฉตา (ปรารถนาลามก)
6. สันทิฏฐิปรมาสิตา (ยึดถือแต่ความเห็นของตน)

เหล่านี้ชื่อว่าวิวาทมูล 6 (1)
ฉันทราคเคหสิตธรรม 6 เป็นไฉน
ฉันทราคเคหสิตธรรม 6 คือ
1. ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิต
ที่อาศัยกามคุณในรูปที่น่าชอบใจ
2. ความกำหนัด ฯลฯ ในเสียงที่น่าชอบใจ
3. ความกำหนัด ฯลฯ ในกลิ่นที่น่าชอบใจ
4. ความกำหนัด ฯลฯ ในรสที่น่าชอบใจ
5. ความกำหนัด ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ
6. ความกำหนัด ฯลฯ ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนัก
แห่งจิตที่อาศัยกามคุณในธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า ฉันทราคเคหสิตธรรม 6 (2)
วิโรธวัตถุ 6 เป็นไฉน
วิโรธวัตถุ 6 คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :599 }