เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 5.ปัญจกนิทเทส
มัจฉริยะ 5 เป็นไฉน
มัจฉริยะ 5 คือ

1. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
2. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
3. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
4. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
5. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

เหล่านี้เรียกว่า มัจฉริยะ 5 (3)
สังคะ 5 เป็นไฉน
สังคะ 5 คือ

1. สังคะคือราคะ (เครื่องข้องคือราคะ)
2. สังคะคือโทสะ (เครื่องข้องคือโทสะ)
3. สังคะคือโมหะ (เครื่องข้องคือโมหะ)
4. สังคะคือมานะ (เครื่องข้องคือมานะ)
5. สังคะคือทิฏฐิ (เครื่องข้องคือทิฏฐิ)

เหล่านี้ชื่อว่าสังคะ 5 (4)
สัลละ 5 เป็นไฉน
สัลละ 5 คือ

1. สัลละคือราคะ (ลูกศรคือราคะ)
2. สัลละคือโทสะ (ลูกศรคือโทสะ)
3. สัลละคือโมหะ (ลูกศรคือโมหะ)
4. สัลละคือมานะ (ลูกศรคือมานะ)
5. สัลละคือทิฏฐิ (ลูกศรคือทิฏฐิ)

เหล่านี้ชื่อว่าสัลละ 5 (5)
[941] เจโตขีละ 5 เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :593 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 5.ปัญจกนิทเทส
เจโตขีละ 5 คือ
1. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
2. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม
3. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์
4. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา
5. บุคคลย่อมมีจิตขุ่นเคือง ไม่พอใจ มีจิตกระทบกระทั่ง มีจิต
กระด้างในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
เหล่านี้ชื่อว่าเจโตขีละ 5 (6)
เจตโสวินิพันธะ 5 เป็นไฉน
เจตโสวินิพันธะ 5 คือ
1. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ
ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่
ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาม
2. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ
ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่
ปราศจากจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาย
3. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ
ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่
ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในรูป
4. บุคคลบริโภคอาหารเต็มท้องตามความต้องการแล้ว ประกอบ
ขวนขวาย หาสุขในการนอน สุขในการเอน สุขในการหลับอยู่
5. บุคคลปรารถนาจะเกิดในหมู่เทพหมู่หนึ่งแล้วประพฤติพรหม
จรรย์ด้วยผูกใจว่า เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ หรือเทวดาผู้
มีศักดิ์น้อยองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล1นี้ ด้วยวัตรนี้ ด้วยตบะนี้
หรือด้วยพรหมจรรย์นี้
เหล่านี้ชื่อว่าเจตโสวินิพันธะ 5 (7)

เชิงอรรถ :
1 คำว่า "ศีล" ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล 4 คือ ปาติโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล
และปัจจยสันนิสิตศีล (อภิ.วิ.อ. 941/547)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :594 }