เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 5.ปัญจกนิทเทส
ทิฏฐิ 4 เป็นไฉน
ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์ตนทำขึ้นเอง และสุขทุกข์คนอื่น
ทำให้
ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์เป็นสิ่งที่ตนทำขึ้นเองและผู้อื่นทำให้
สุขทุกข์ไม่ใช่ตนเองและผู้อื่นทำให้ แต่เกิดขึ้นเองโดยเฉพาะ
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ 4 (17)
จตุกกนิทเทส จบ

5. ปัญจกนิทเทส
[940] บรรดาปัญจกมาติกานั้น โอรัมภาคิยสังโยชน์1 5 เป็นไฉน
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 คือ

1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ)
3. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต)
4. กามฉันทะ (ความกำหนัดในกามคุณ)
5. พยาบาท (ความขัดเคือง แค้นใจ)

เหล่านี้ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (1)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 เป็นไฉน
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 คือ

1. รูปราคะ (ความกำหนัดในรูป)
2. อรูปราคะ (ความกำหนัดในอรูป)
3. มานะ (ความเย่อหยิ่งถือตัว)
4. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
5. อวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)

เหล่านี้ชื่อว่าอุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 (2)

เชิงอรรถ :
1 สังโยชน์เบื้องต่ำเป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพต่ำ คือกามภพ (อภิ.วิ.อ. 940/545)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :592 }