เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 4.จตุกกนิทเทส
บรรดาอาสวะ 4 นั้น กามาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามาสวะ
ภวาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ นี้เรียกว่า ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ
มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐาสวะ
อวิชชาสวะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ
เหล่านี้ชื่อว่าอาสวะ 4 (1)
[938] คันถะ 4 เป็นไฉน
คันถะ 4 คือ
1. อภิชฌากายคันถะ 2. พยาบาทกายคันถะ
3. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ 4. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
บรรดาคันถะ 4 นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ นี้
เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ
พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา ฯลฯ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า พยาปาทกายคันถะ
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :587 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 4.จตุกกนิทเทส
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล
ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย วิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า หรือโลกไม่เที่ยง นี้เท่า
นั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ฯลฯ ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าอิทังสัจจา-
ภินิเวสกายคันถะ
เหล่านี้ชื่อว่าคันถะ 4 (2)
โอฆะ 4 ฯลฯ โยคะ 4 ฯลฯ อุปาทาน 4 เป็นไฉน
อุปาทาน 4 คือ

1. กามุปาทาน (ความถือมั่นกาม)
2. ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นทิฏฐิ)
3. สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นศีลพรต)
4. อัตตวาทุปาทาน (ความถือมั่นวาทะว่ามีตัวตน)

บรรดาอุปาทาน 4 เหล่านั้น กามุปาทาน เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์
ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรู้ยิ่งเห็นจริงแจ้งประจักษ์โลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วสอน
ให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดโดยวิปลาส มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน
เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :588 }