เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ (32)
[934] อริยานัง อทัสสนกัมยตา เป็นไฉน
บรรดาบุคคลเหล่านั้น พระอริยะ เป็นไฉน
พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าเรียกว่า พระอริยะ ความไม่ต้องการจะ
พบ ความไม่ต้องการจะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคม
กับพระอริยะเหล่านี้ นี้เรียกว่า อริยานัง อทัสสนกัมยตา
สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา เป็นไฉน
บรรดาบทเหล่านั้น สัทธรรม เป็นไฉน
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เรียกว่า สัทธรรม
ความไม่ต้องการจะฟัง ความไม่ต้องการจะสดับ ความไม่ต้องการจะเรียน
ความไม่ต้องการจะทรงจำสัทธรรมนี้ นี้เรียกว่า สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา
อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน
บรรดาบทเหล่านั้น อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน
ความคิดแข่งดี ความคิดแข่งดีเนือง ๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดี
เนือง ๆ ภาวะที่คิดแข่งดีเนือง ๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความ
เป็นผู้คอยแสวงหาโทษ นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา (33)
[935] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความย้อนระลึกไม่ได้ ความระลึกไม่ได้
ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า
มุฏฐัสสัจจะ
อสัมปชัญญะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :585 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 4.จตุกกนิทเทส
เจตโสวิกเขปะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ความพล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า เจตโสวิกเขปะ (34)
[936] อโยนิโสมนสิการ เป็นไฉน
ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายใน
สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน
ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่งามว่างาม หรือความนึก ความนึกเนือง ๆ
ความคำนึง ความพิจารณา ความใคร่ครวญแห่งจิตโดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า
อโยนิโสมนสิการ
กุมมัคคเสวนา เป็นไฉน
บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น กุมมัคคะ เป็นไฉน
มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ นี้เรียกว่า กุมมัคคะ
การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี
ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามทางผิด นี้เรียกว่า กุมมัคคเสวนา
เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน
ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอย
ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความซึมเซา กิริยาที่ซึมเซา
ภาวะที่จิตซึมเซา นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (35)
ติกนิทเทส จบ

4. จตุกกนิทเทส
[937] บรรดาจตุกกมาติกาเหล่านั้น อาสวะ 4 เป็นไฉน
อาสวะ 4 คือ
1. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) 2. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
3. ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ) 4. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :586 }