เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส

1. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
2. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
3. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
4. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
5. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความถี่เหนียว
ความปกปิด ภาวะที่จิตหวงแหน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา
โกสัชชะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ 5 การไม่ทำโดยเคารพ การไม่ทำโดยติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ
ไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความ
ประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ (31)
[933] อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุทธัจจะ
อสังวร เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน
จักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่ปฏิบัติแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียด้วยหู ฯลฯ
สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่
สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษา
มนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า อสังวร
ทุสสีลยะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :584 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ (32)
[934] อริยานัง อทัสสนกัมยตา เป็นไฉน
บรรดาบุคคลเหล่านั้น พระอริยะ เป็นไฉน
พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าเรียกว่า พระอริยะ ความไม่ต้องการจะ
พบ ความไม่ต้องการจะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคม
กับพระอริยะเหล่านี้ นี้เรียกว่า อริยานัง อทัสสนกัมยตา
สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา เป็นไฉน
บรรดาบทเหล่านั้น สัทธรรม เป็นไฉน
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เรียกว่า สัทธรรม
ความไม่ต้องการจะฟัง ความไม่ต้องการจะสดับ ความไม่ต้องการจะเรียน
ความไม่ต้องการจะทรงจำสัทธรรมนี้ นี้เรียกว่า สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา
อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน
บรรดาบทเหล่านั้น อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน
ความคิดแข่งดี ความคิดแข่งดีเนือง ๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดี
เนือง ๆ ภาวะที่คิดแข่งดีเนือง ๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความ
เป็นผู้คอยแสวงหาโทษ นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา (33)
[935] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความย้อนระลึกไม่ได้ ความระลึกไม่ได้
ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า
มุฏฐัสสัจจะ
อสัมปชัญญะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :585 }