เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ 5 การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาท ในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ความประมาท กิริยา
ที่ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (29)
[931] อนาทริยะ เป็นไฉน
ความไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ความ
ไม่เชื่อถือ กิริยาที่ไม่เชื่อถือ ภาวะที่ไม่เชื่อถือ ความไม่มีศีล ความไม่ยำเกรง นี้
เรียกว่า อนาทริยะ
โทวจัสสตา เป็นไฉน
ความที่เป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความถือรั้น
ความพอใจในการโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ
ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ปาปมิตตตา เป็นไฉน
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความตระหนี่ มี
ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การเสพเฉพาะ การคบ
การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น
นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา (30)
[932] อัสสัทธิยะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือ
พระสงฆ์ ความไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่ปักใจเชื่อ ความไม่เลื่อมใสยิ่ง มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสสัทธิยะ
อวทัญญุตา เป็นไฉน
ความตระหนี่มี 5 อย่างคือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :583 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส

1. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
2. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
3. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
4. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
5. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความถี่เหนียว
ความปกปิด ภาวะที่จิตหวงแหน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา
โกสัชชะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ 5 การไม่ทำโดยเคารพ การไม่ทำโดยติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ
ไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความ
ประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ (31)
[933] อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุทธัจจะ
อสังวร เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน
จักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่ปฏิบัติแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียด้วยหู ฯลฯ
สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่
สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษา
มนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า อสังวร
ทุสสีลยะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :584 }