เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตนหรือ
เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ
สัญญาเป็นตน ฯลฯ สังขารเป็นตน ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือย่อมพิจารณา
เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด
ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลกนี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิ
ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ (24)
[926] อรติ เป็นไฉน
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความกระสัน
ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอธิกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ
วิเหสา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วย
ท่อนไม้ ด้วยศัสตรา ด้วยเชือก อย่างใดอย่างหนึ่ง ความบีบคั้น ความรบกวน
ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนหนักขึ้น การทำให้เดือดร้อน การทำให้เดือด
ร้อนอย่างหนัก การทำร้ายสัตว์อื่น มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิเหสา
อธรรมจริยา เป็นไฉน
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ความ
ประพฤติไม่เป็นธรรมทางใจ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ นี้เรียกว่า อธรรม-
จริยา (25)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :580 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
[927] โทวจัสสตา เป็นไฉน
ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ
ข้างขัดขืน ความพอใจในการโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ ความ
ไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ปาปมิตตตา เป็นไฉน
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความตระหนี่ มี
ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี
ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า
ปาปมิตตตา
นานัตตสัญญา เป็นไฉน
สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม สัญญาที่เกี่ยวด้วยความพยาบาท สัญญาที่เกี่ยวด้วย
ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า นานัตตสัญญา สัญญาที่เป็นอกุศลแม้ทั้งหมดชื่อว่า
นานัตตสัญญา (26)
[928] อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบ ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้เรียกว่า
อุทธัจจะ
โกสัชชะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ 5 การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ
ปมาทะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ 5 การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :581 }