เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
อัคคิ1 3 เป็นไฉน
อัคคิ 3 คือ
1. อัคคิคือราคะ (ไฟคือราคะ)
2. อัคคิคือโทสะ (ไฟคือโทสะ)
3. อัคคิคือโมหะ (ไฟคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าอัคคิ 3 (21)
กสาวะ 3 เป็นไฉน
กสาวะ 3 คือ
1. กสาวะคือราคะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือราคะ)
2. กสาวะคือโทสะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโทสะ)
3. กสาวะคือโมหะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ 3 (22)
กสาวะ 3 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
กสาวะ 3 คือ
1. กสาวะทางกาย 2. กสาวะทางวาจา
3. กสาวะทางใจ
เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ 3 (23)
[925] อัสสาททิฏฐิ2 เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็นผู้มีความเห็น
อย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ดังนี้ จึงบริโภคกาม นี้เรียกว่า อัสสาททิฏฐิ
อัตตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ

เชิงอรรถ :
1 แปลว่า ไฟ ท่านเปรียบกิเลสเหมือนไฟ (อภิ.วิ.อ. 924/539)
2 ความเห็นผิดที่สัมปยุตด้วยความยินดี (อภิ.วิ.อ. 925/540)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :579 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตนหรือ
เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ
สัญญาเป็นตน ฯลฯ สังขารเป็นตน ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือย่อมพิจารณา
เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด
ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลกนี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิ
ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ (24)
[926] อรติ เป็นไฉน
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความกระสัน
ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอธิกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ
วิเหสา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วย
ท่อนไม้ ด้วยศัสตรา ด้วยเชือก อย่างใดอย่างหนึ่ง ความบีบคั้น ความรบกวน
ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนหนักขึ้น การทำให้เดือดร้อน การทำให้เดือด
ร้อนอย่างหนัก การทำร้ายสัตว์อื่น มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิเหสา
อธรรมจริยา เป็นไฉน
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ความ
ประพฤติไม่เป็นธรรมทางใจ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ นี้เรียกว่า อธรรม-
จริยา (25)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :580 }