เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
1. บุคคลเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภ
อดีตกาล
2. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล
3. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล
เหล่านี้ชื่อว่าตมะ 3 (14)
[923] ติตถายตนะ 31 เป็นไฉน
ติตถายตนะ 3 คือ
1. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น
เพราะเคยการทำเหตุมาก่อน
2. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น
เพราะเหตุคือผู้เป็นใหญ่สร้างให้
3. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น
เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
เหล่านี้ชื่อว่าติตถายตนะ 3 (15)
[924] กิญจนะ 32 เป็นไฉน
กิญจนะ 3 คือ
1. กิญจนะคือราคะ 2. กิญจนะคือโทสะ
3. กิญจนะคือโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่ากิญจนะ 3 (16)

เชิงอรรถ :
1 ถิ่น หรือบ่อเกิดทิฏฐิ 62 (อภิ.วิ.อ. 923/538) 2 อภิ.วิ.อ. 924/539

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :577 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
อังคณะ 31 เป็นไฉน
อังคณะ 3 คือ
1. อังคณะคือราคะ (กิเลสเพียงดังเนินคือราคะ)
2. อังคณะคือโทสะ (กิเลสเพียงดังเนินคือโทสะ)
3. อังคณะคือโมหะ (กิเลสเพียงดังเนินคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าอังคณะ 3 (17)
มละ 32 เป็นไฉน
มละ 3 คือ
1. มละคือราคะ (มลทินคือราคะ)
2. มละคือโทสะ (มลทินคือโทสะ)
3. มละคือโมหะ (มลทินคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่ามละ 3 (18)
วิสมะ 33 เป็นไฉน
วิสมะ 3 คือ
1. วิสมะคือราคะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือราคะ)
2. วิสมะคือโทสะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือโทสะ)
3. วิสมะคือโมหะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าวิสมะ 3 (19)
วิสมะ 3 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
วิสมะ 3 คือ
1. วิสมะทางกาย 2. วิสมะทางวาจา
3. วิสมะทางใจ
เหล่านี้ชื่อว่าวิสมะ 3 (20)

เชิงอรรถ :
1 แปลว่า กิเลสเพียงดังเนิน คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (อภิ.วิ.อ. 924/539)
2 มละเป็นมลทินทำจิตให้เศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ราคะ โทสะ และโมหะ (อภิ.วิ.อ. 924/539)
3 คำว่า "วิสมะ" หมายถึงความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :578 }