เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
[920] วิธา 3 เป็นไฉน
วิธา 3 คือ ความถือตัวว่า
1. เป็นผู้เลิศกว่าเขา 2. เป็นผู้เสมอเขา
3. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา
เหล่านี้เรียกว่า วิธา 3 (12)
[921] ภัย 3 เป็นไฉน
ภัย 3 คือ

1. ชาติภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชาติ)
2. ชราภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชรา)
3. มรณภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยความตาย)

บรรดาภัย 3 นั้น ชาติภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความเกิด นี้เรียกว่า ชาติภัย
ชราภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยชรา นี้เรียกว่า ชราภัย
มรณภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความตาย นี้เรียกว่า มรณภัย
เหล่านี้ชื่อว่าภัย 3 (13)
[922] ตมะ1 3 เป็นไฉน
ตมะ 3 คือ

เชิงอรรถ :
1 ตมนฺธกาโร สมฺโมโห อวิชฺโชโฆ มหพฺภโยติ วจนโต อวิชชา ตโม นาม (อภิ.วิ.อ. 922/537)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :576 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
1. บุคคลเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภ
อดีตกาล
2. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล
3. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล
เหล่านี้ชื่อว่าตมะ 3 (14)
[923] ติตถายตนะ 31 เป็นไฉน
ติตถายตนะ 3 คือ
1. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น
เพราะเคยการทำเหตุมาก่อน
2. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น
เพราะเหตุคือผู้เป็นใหญ่สร้างให้
3. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น
เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
เหล่านี้ชื่อว่าติตถายตนะ 3 (15)
[924] กิญจนะ 32 เป็นไฉน
กิญจนะ 3 คือ
1. กิญจนะคือราคะ 2. กิญจนะคือโทสะ
3. กิญจนะคือโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่ากิญจนะ 3 (16)

เชิงอรรถ :
1 ถิ่น หรือบ่อเกิดทิฏฐิ 62 (อภิ.วิ.อ. 923/538) 2 อภิ.วิ.อ. 924/539

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :577 }