เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
[919] เอสนา 3 เป็นไฉน
เอสนา 3 คือ
1. กาเมสนา 2. ภเวสนา
3. พรหมจริเยสนา
บรรดาเอสนา 3 นั้น กาเมสนา เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กาเมสนา
ภเวสนา เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ นี้เรียกว่า ภเวสนา
พรหมจริเยสนา เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีกก็ไม่ใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา
บรรดาเอสนา 3 นั้น กาเมสนา เป็นไฉน
ความกำหนัดในกาม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศลซึ่งตั้งอยู่
ในฐานเดียวกันกับความกำหนัดในกามนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา1
ภเวสนา เป็นไฉน
ความกำหนัดในภพ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศลซึ่งตั้งอยู่ใน
ฐานเดียวกันกับความกำหนัดในภพนั้น นี้เรียกว่า ภเวสนา
พรหมจริเยสนา เป็นไฉน
ความเห็นที่ถือว่า โลกมีที่สุด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศล ซึ่ง
ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความเห็นที่ถือว่าโลกมีที่สุดนั้น นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา
เหล่านี้ชื่อว่าเอสนา 3 (11)

เชิงอรรถ :
1 สสฺสโต โลโกติอาทินา นเยน วุตฺตา ทิฏฺฐิคติกสมฺมตสฺส พฺรหฺมอริยสฺส คเวสนา ทิฏฺฐิ พฺรหฺมจริเยสนาติ
เวทิตพฺพา (อภิ.วิ.อ. 919/536)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :575 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
[920] วิธา 3 เป็นไฉน
วิธา 3 คือ ความถือตัวว่า
1. เป็นผู้เลิศกว่าเขา 2. เป็นผู้เสมอเขา
3. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา
เหล่านี้เรียกว่า วิธา 3 (12)
[921] ภัย 3 เป็นไฉน
ภัย 3 คือ

1. ชาติภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชาติ)
2. ชราภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชรา)
3. มรณภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยความตาย)

บรรดาภัย 3 นั้น ชาติภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความเกิด นี้เรียกว่า ชาติภัย
ชราภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยชรา นี้เรียกว่า ชราภัย
มรณภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความตาย นี้เรียกว่า มรณภัย
เหล่านี้ชื่อว่าภัย 3 (13)
[922] ตมะ1 3 เป็นไฉน
ตมะ 3 คือ

เชิงอรรถ :
1 ตมนฺธกาโร สมฺโมโห อวิชฺโชโฆ มหพฺภโยติ วจนโต อวิชชา ตโม นาม (อภิ.วิ.อ. 922/537)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :576 }