เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
ความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย
แก่คนผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก
เป็นที่ชอบพอของเรา
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบ
พอของเรา ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้
จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิด
ขึ้นในฐานะที่ไม่สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบ ความแค้น ความ
เคือง ความพลุ้งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความ
ขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิด
ประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยา
ที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โทสะ
โมหะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความ
ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในสภาวธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและ
กัน และอิงอาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล
คือโมหะมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โมหะ
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลมูล 3 (1)
[910] อกุศลวิตก 3 เป็นไฉน
อกุศลวิตก 3 คือ

1. กามวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยกาม)
2. พยาปาทวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยความพยาบาท)
3. วิหิงสาวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยความเบียดเบียน)

บรรดาวิตก 3 นั้น กามวิตก เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :568 }