เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
อสัมปชัญญะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญะ (16)
[907] สีลวิบัติ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าสีลวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณ-
พราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย
ตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดเรียกว่า
ทิฏฐิวิบัติ (17)
[908] อัชฌัตตสัญโญชนะ เป็นไฉน
สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ชื่อว่าอัชฌัตตสัญโญชนะ1
(พหิทธสัญโญชนะ เป็นไฉน)
สังโยชน์เบื้องสูง 5 ชื่อว่าพหิทธสัญโญชนะ2 (18)
ทุกนิทเทส จบ

3. ติกนิทเทส
[909] บรรดามาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล 3 เป็นไฉน
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ และโมหะ

เชิงอรรถ :
1 คือสังโยชน์ในกามภพ (อภิ.วิ.อ. 908/535)
2 คือสังโยชน์ในรูปภพและอรูปภพ (อภิ.วิ.อ. 908/535)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :566 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
บรรดาอกุศลมูล 3 นั้น โลภะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ
เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่
ความจมอยู่ ความหวั่นไหว ความหลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติ
ที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่ซ่านไป
ธรรมชาติที่ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ธรรมชาติที่เป็นกระแส ธรรมชาติที่แผ่ไป
ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อนใจ ธรรมชาติที่ตั้งความปรารถนา
ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนหมู่ไม้ที่ตั้งอยู่ในป่า ความ
เชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง
ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ
ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่อยากได้
ธรรมชาติที่อยากได้ทั่ว ธรรมชาติที่อยากได้ยิ่ง กิริยาที่อยากได้ ภาวะที่อยากได้
ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่เป็นเหตุซมซานไป ความ
ใคร่ในอารมณ์ที่ดี ความกำหนัดในฐานะที่ไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ
กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่ม ความปรารถนาจัด กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ (คือ
ราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์
เครื่องปิดบัง เครื่องผูกมัด อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐานะ ตัณหาเหมือนเถาวัลย์
ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่ง
ทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหา
เหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
นี้เรียกว่า โลภะ
โทสะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ผู้นี้กำลังทำความ
เสื่อมเสียแก่เรา ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :567 }