เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
อสัมปชัญญะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญะ (16)
[907] สีลวิบัติ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าสีลวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณ-
พราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย
ตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดเรียกว่า
ทิฏฐิวิบัติ (17)
[908] อัชฌัตตสัญโญชนะ เป็นไฉน
สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ชื่อว่าอัชฌัตตสัญโญชนะ1
(พหิทธสัญโญชนะ เป็นไฉน)
สังโยชน์เบื้องสูง 5 ชื่อว่าพหิทธสัญโญชนะ2 (18)
ทุกนิทเทส จบ

3. ติกนิทเทส
[909] บรรดามาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล 3 เป็นไฉน
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ และโมหะ

เชิงอรรถ :
1 คือสังโยชน์ในกามภพ (อภิ.วิ.อ. 908/535)
2 คือสังโยชน์ในรูปภพและอรูปภพ (อภิ.วิ.อ. 908/535)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :566 }