เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
วาจาใดเป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อ
ความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลเป็นผู้พูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่
อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาไม่ละมุนละมัย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบ ในลักษณะ
ดังกล่าวนั้น นี้เรียกว่า อสาขัลยะ
อัปปฏิสันถาร เป็นไฉน
ปฏิสันถาร 2 คือ อามิสปฏิสันถาร และธัมมปฏิสันถาร บุคคลบางคนใน
โลกนี้เป็นผู้ไม่ทำการปฏิสันถารด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธัมมปฏิสันถาร นี้
เรียกว่า อัปปฏิสันถาร (14)
[905] ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวม
แล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในจักขุนทรีย์ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้
บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์
นั้น ไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่คุ้มครอง กิริยาที่
ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมในอินทรีย์ 6 เหล่านี้ นี้เรียกว่า ความ
เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคายย่อมบริโภคอาหารเพื่อเล่น เพื่อ
ความมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อความอ้วนพี ความไม่สันโดษ ความไม่
รู้จักประมาณ ความไม่พิจารณาในโภชนะนั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ
ในการบริโภค (15)
[906] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความระลึกย้อนหลังไม่ได้ ความระลึก
ไม่ได้ ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ภาวะที่ทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืมสติ
นี้เรียกว่า มุฏฐัสสัจจะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :565 }