เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
[897] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ
อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ (7)
[898] อันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ
อนันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ (8)
[899] ปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน
อดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ
อปรันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน
อนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ (9)
[900] อหิริกะ เป็นไฉน
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอาย
ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อหิริกะ
อโนตตัปปะ เป็นไฉน
ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่
เกรงกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ (10)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :563 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
[901] โทวจัสสตา เป็นไฉน
ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ
ข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ
ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ปาปมิตตตา เป็นไฉน
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่ มี
ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี
ความภักดี ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้ร่วมพวกกับบุคคลเหล่า
นั้น นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา (11)
[902] อนัชชวะ เป็นไฉน
ความไม่ซื่อตรง ภาวะที่ไม่ซื่อตรง ความคด ความงอ ความโกง นี้เรียกว่า
อนัชชวะ
อมัททวะ เป็นไฉน
ความไม่อ่อนโยน ภาวะที่ไม่อ่อน ความกระด้าง ความหยาบคาย ภาวะที่
กระด้าง ความแข็งกระด้าง ความมีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า
อมัททวะ (12)
[903] อขันติ เป็นไฉน
ความไม่อดทน ภาวะที่ไม่อดทน ความไม่อดกลั้น ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า อขันติ
อโสรัจจะ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ความไม่เสงี่ยม ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดเรียกว่า
อโสรัจจะ (13)
[904] อสาขัลยะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :564 }