เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
[894] มายา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และใจแล้วตั้งความปรารถนา
ลามกไว้เพราะมีความต้องการจะปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ ปรารถนาว่า ขอใคร
อย่าได้รู้ทันเรา ดำริว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา พูดว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา
ขวนขวายด้วยกายว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์
กิริยาที่หลอกให้หลง ความลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง
ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปกปิด ความปิดบัง การกระทำไม่ชัดเจน การไม่
ทำให้แจ้ง การปกปิดมิดชิด การกระทำที่ชั่ว มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มายา
สาเถยยะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด ความโอ้อวด กิริยาที่
โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด ความกระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมคู ภาวะที่กระด้างใน
บุคคลนั้น นี้เรียกว่า สาเถยยะ (4)
[895] อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
ภวตัณหา เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ความยินดีในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความปรารถนา
ภพ ความเยื่อใยในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่น
ในภพ นี้เรียกว่า ภวตัณหา (5)
[896] ภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ
วิภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิภวทิฏฐิ (6)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :562 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
[897] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ
อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ (7)
[898] อันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ
อนันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ (8)
[899] ปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน
อดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ
อปรันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน
อนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ (9)
[900] อหิริกะ เป็นไฉน
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอาย
ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อหิริกะ
อโนตตัปปะ เป็นไฉน
ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่
เกรงกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ (10)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :563 }