เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
อุปนาหะ เป็นไฉน
ความโกรธครั้งแรกชื่อว่าความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมาชื่อว่าความผูก
โกรธ ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ การไม่หยุดโกรธ การตั้งความ
โกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การโผลงไปตามความโกรธ การตามไปผูกความโกรธ
ไว้ การทำความผูกโกรธไว้ให้มั่น มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุปนาหะ (1)
[892] มักขะ เป็นไฉน
ความลบหลู่คุณท่าน กิริยาที่ลบหลู่คุณท่าน ภาวะที่ลบหลู่คุณท่าน ความดู
หมิ่น การทำความดูหมิ่น นี้เรียกว่า มักขะ
ปลาสะ เป็นไฉน
ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ สภาวธรรมที่เป็นอาหารแห่ง
การตีเสมอโดยนำเอาความชนะของตนมาอ้าง เหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี
ความไม่ยอมสละ นี้เรียกว่า ปลาสะ (2)
[893] อิสสา เป็นไฉน
ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง
ภาวะที่เกลียดชัง ในเมื่อคนอื่นได้ลาภสักการะ ได้รับความเคารพ ความนับถือ
การกราบไหว้ และการบูชา นี้เรียกว่า อิสสา
มัจฉริยะ เป็นไฉน
มัจฉริยะ 5 คือ

1. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
2. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
3. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
4. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะหรือคุณความดี)
5. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความ
เหนียวแน่น ความปกปิด ความมีจิตหวงแหน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
มัจฉริยะ (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :561 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
[894] มายา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และใจแล้วตั้งความปรารถนา
ลามกไว้เพราะมีความต้องการจะปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ ปรารถนาว่า ขอใคร
อย่าได้รู้ทันเรา ดำริว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา พูดว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา
ขวนขวายด้วยกายว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์
กิริยาที่หลอกให้หลง ความลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง
ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปกปิด ความปิดบัง การกระทำไม่ชัดเจน การไม่
ทำให้แจ้ง การปกปิดมิดชิด การกระทำที่ชั่ว มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มายา
สาเถยยะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด ความโอ้อวด กิริยาที่
โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด ความกระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมคู ภาวะที่กระด้างใน
บุคคลนั้น นี้เรียกว่า สาเถยยะ (4)
[895] อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
ภวตัณหา เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ความยินดีในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความปรารถนา
ภพ ความเยื่อใยในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่น
ในภพ นี้เรียกว่า ภวตัณหา (5)
[896] ภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ
วิภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิภวทิฏฐิ (6)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :562 }