เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
[883] อัสมิมานะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าเราเป็นรูป ความพอใจว่าเราเป็นรูป ความเข้าใจว่าเราเป็นรูป
ความสำคัญว่าเราเป็นเวทนา ฯลฯ เราเป็นสัญญา ฯลฯ เราเป็นสังขาร ฯลฯ เรา
เป็นวิญญาณ ความพอใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความเข้าใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความ
ถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชู
ตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่า อัสมิมานะ (66)
[884] มิจฉามานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยหน้าที่การงาน
โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ โดยศีล โดยพรต โดยศีล
และพรต หรือโดยทิฏฐิ1 อันลามก ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉามานะ (67)
[885] ญาติวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน2 ปรารภ
หมู่ญาติ นี้เรียกว่า ญาติวิตักกะ (68)
[886] ชนปทวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน2 ปรารภ
ชนบท นี้เรียกว่า ชนปทวิตักกะ (69)
[887] อมรวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน2 ประกอบ
ด้วยทุกรกิริยา หรือประกอบด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า อมรวิตักกะ (70)

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ 62 (อภิ.วิ.อ. 884/530)
2 คำว่า "อาศัยเรือน" ในอรรถกถาขยายว่า ได้แก่กามคุณ 5 (อภิ.วิ.อ.885/435)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :559 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
[888] ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน
สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์มีความรื่นเริงร่วมกัน มี
ความโศกเศร้าร่วมกัน ถึงคราวเขาสุขก็พลอยสุขด้วย ถึงคราวเขาทุกข์ก็พลอยทุกข์
ด้วย เมื่อเขามีกิจที่จะพึงทำเกิดขึ้นก็พยายามช่วยทำด้วยตนเอง ความตรึก ความ
ตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน1 ในเพราะการอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์
นั้น นี้เรียกว่า ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ (71)
[889] ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน1 ปรารภ
ลาภสักการะและชื่อเสียง นี้เรียกว่า ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ (72)
[890] อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รำพึงว่า คนเหล่าอื่นอย่าได้ดูหมิ่นเราโดยเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความ
เป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ
โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความตรึก ความตรึกโดยอาการ
ต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน1 ในเพราะความไม่อยากให้ใครดูหมิ่นนั้น นี้เรียก
ว่า อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ (73)
เอกกนิทเทส จบ

2. ทุกนิทเทส
[891] บรรดามาติกาเหล่านั้น โกธะ เป็นไฉน
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด
ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่
คิดปองร้าย ความยินร้าย ความยินร้ายตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า โกธะ (1)

เชิงอรรถ :
1 คำว่า "เรือน" ในที่นี้หมายถึงกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (อภิ.วิ.อ. 890/532)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :560 }