เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า
มานะ (61)
[879] อติมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดย
ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว
ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ
เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติมานะ (62)
[880] มานาติมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เบื้องต้นถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ ต่อมาถือตัวว่าเลิศ
กว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็น
บุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน
ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มานาติมานะ (63)
[881] โอมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ
โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์
โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา
หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความ
เกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะที่เกลียดตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความ
ดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โอมานะ (64)
[882] อธิมานะ เป็นไฉน
ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญกิจที่ตนยังไม่
ได้ทำว่าทำแล้ว ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญ
ธรรมที่ตน ยังไม่ได้ทำให้แจ้งว่าทำให้แจ้งแล้ว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่
ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อธิมานะ (65)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :558 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
[883] อัสมิมานะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าเราเป็นรูป ความพอใจว่าเราเป็นรูป ความเข้าใจว่าเราเป็นรูป
ความสำคัญว่าเราเป็นเวทนา ฯลฯ เราเป็นสัญญา ฯลฯ เราเป็นสังขาร ฯลฯ เรา
เป็นวิญญาณ ความพอใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความเข้าใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความ
ถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชู
ตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่า อัสมิมานะ (66)
[884] มิจฉามานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยหน้าที่การงาน
โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ โดยศีล โดยพรต โดยศีล
และพรต หรือโดยทิฏฐิ1 อันลามก ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉามานะ (67)
[885] ญาติวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน2 ปรารภ
หมู่ญาติ นี้เรียกว่า ญาติวิตักกะ (68)
[886] ชนปทวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน2 ปรารภ
ชนบท นี้เรียกว่า ชนปทวิตักกะ (69)
[887] อมรวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน2 ประกอบ
ด้วยทุกรกิริยา หรือประกอบด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า อมรวิตักกะ (70)

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ 62 (อภิ.วิ.อ. 884/530)
2 คำว่า "อาศัยเรือน" ในอรรถกถาขยายว่า ได้แก่กามคุณ 5 (อภิ.วิ.อ.885/435)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :559 }