เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน
กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง ภาวะ
ที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (57)
[875] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ
เขาอาศัยความถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่
ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือ
ตัวว่าเลิศกว่าเขา (58)
[876] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ
เขาอาศัยความถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่
ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง
ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้
ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (59)
[877] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล
ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่น
ตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะ
ที่เกลียดตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะ
เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (60)
[878] มานะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :557 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า
มานะ (61)
[879] อติมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดย
ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว
ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ
เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติมานะ (62)
[880] มานาติมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เบื้องต้นถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ ต่อมาถือตัวว่าเลิศ
กว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็น
บุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน
ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มานาติมานะ (63)
[881] โอมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ
โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์
โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา
หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความ
เกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะที่เกลียดตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความ
ดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โอมานะ (64)
[882] อธิมานะ เป็นไฉน
ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญกิจที่ตนยังไม่
ได้ทำว่าทำแล้ว ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญ
ธรรมที่ตน ยังไม่ได้ทำให้แจ้งว่าทำให้แจ้งแล้ว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่
ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อธิมานะ (65)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :558 }