เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
ความเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดลำบากเพราะอาหาร ความเร่าร้อน
กระวนกระวายเพราะอาหาร ความหนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร ของผู้รับประทาน
อาหารแล้ว นี้เรียกว่า ภัตตสัมมทะ (42)
[860] เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน
ความไม่คล่องแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความ
ทดถอย ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย
ภาวะที่จิตท้อถอย นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (43)
[861] กุหนา เป็นไฉน
ความหลอกลวงด้วยการเสพปัจจัย ความหลอกลวงด้วยการกระซิบในที่ใกล้
หรือการวางท่าทางอิริยาบถ1 กิริยาที่วางท่าทางอิริยาบถ ความดำรงอิริยาบถด้วยดี
การปั้นสีหน้า ภาวะที่ปั้นสีหน้า ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่
หลอกลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก ถูกความ
อยากครอบงำ นี้เรียกว่า กุหนา (44)
[862] ลปนา เป็นไฉน
การทักทายผู้อื่น การพูดแนะนำตนเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง
การพูดยกย่องให้สูงขึ้นทุกส่วน การพูดเอาใจคนอื่น การพูดเอาใจคนอื่นบ่อย ๆ
การพูดแนะนำ การพูดแนะนำบ่อย ๆ การพูดยกย่องเพื่อต้องการจะให้เขารัก การ
พูดทำตนให้ต่ำลง การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก ของภิกษุผู้
มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้
เรียกว่า ลปนา (45)
[863] เนมิตติกตา เป็นไฉน
การทำนิมิต2 ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวข้องด้วยปัจจัย การ
พูดเป็นเลศนัย การพูดเลียบเคียงชนเหล่าอื่น ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง
ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า เนมิตติกตา (46)

เชิงอรรถ :
1 คำว่า "อิริยาบถ" หมายถึงอิริยาบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน (อภิ.วิ.อ. 861/521)
2 คำว่า "ทำนิมิต" ในที่นี้หมายถึงความฉลาดในการกระทำทางกายและวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน (อภิ.วิ.อ.
863/523)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :553 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
[864] นิปเปสิกตา เป็นไฉน
การด่า การพูดข่ม การพูดนินทา การพูดตำหนิโทษ การพูดตำหนิโทษหนัก
ขึ้น การพูดเหยียดหยาม การพูดเหยียดหยามให้หนักยิ่งขึ้น การพูดให้เสียชื่อเสียง
การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง การนำเรื่องเที่ยวไปประจาน การพูดสรรเสริญ
ต่อหน้านินทาลับหลัง1 ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก
ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า นิปเปสิกตา (47)
[865] ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา เป็นไฉน
ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยาก
ครอบงำ นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น หรือที่ได้จากข้างโน้นไปให้ข้างนี้
การแสวงหา การเสาะแสวงหา การเสาะแสวงหาบ่อย ๆ กิริยาที่แสวงหา กิริยา
ที่เสาะแสวงหา กิริยาที่เสาะแสวงหาบ่อย ๆ ซึ่งอามิสด้วยอามิส มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา (48)
[866] ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร
โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความ
เป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดย
ปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
การเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา (49)
[867] ความถือตัวว่าเป็นผู้เสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดย
โคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดย
ความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือ

เชิงอรรถ :
1 คำบาลีว่า "ปรปิฏฺฐิมํสิกตา" อรรถกถาขยายความว่า "ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา"
ต่อหน้าพูดจาอ่อนหวาน ลับหลังพูดนินทา ติเตียน (อภิ.วิ.อ. 864/524)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :554 }