เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
[854] จาปัลยะ เป็นไฉน
การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การประดับร่างกาย
ที่เปื่อยเน่านี้ หรือบริขารภายนอก การประเทืองผิว การเล่นหัว ความร่าเริง
ความกำหนัดยินดี ภาวะที่กำหนัดยินดี การตกแต่ง กิริยาที่ชอบตกแต่ง นี้เรียกว่า
จาปัลยะ (37)
[855] อสภาควุตติ เป็นไฉน
ความไม่ประพฤติตาม ความประพฤติขัดขืน ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่
เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่ยำเกรงในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้ที่ควรเคารพ เช่น
มารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว อาจารย์ อุปัชฌาย์ พระพุทธเจ้า หรือพระสาวก
นี้เรียกว่า อสภาควุตติ (38)
[856] อรติ เป็นไฉน
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความ
รำคาญ ความกระวนกระวายใจในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมที่เป็นอธิกุศล1
คือสมถะและวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ (39)
[857] ตันที เป็นไฉน
ความง่วงซึม กิริยาที่ง่วงซึม ภาวะที่ง่วงซึม ความเกียจคร้าน กิริยาที่
เกียจคร้าน ภาวะที่เกียจคร้าน นี้เรียกว่า ตันที2 (40)
[858] วิชัมภิตา เป็นไฉน
ความบิดกาย กิริยาที่บิดกาย การโน้มกายไปข้างหน้า การโน้มกายมาข้าง
หลัง การโน้มกายไปรอบ ๆ การตั้งกายให้สูงขึ้น ความไม่สำราญทางกาย นี้เรียกว่า
วิชัมภิตา (41)
[859] ภัตตสัมมทะ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 856/517
2 หมายถึงเกียจคร้านโดยกำเนิด (อภิ.วิ.อ. 857/517)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :552 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 1.เอกกนิทเทส
ความเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดลำบากเพราะอาหาร ความเร่าร้อน
กระวนกระวายเพราะอาหาร ความหนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร ของผู้รับประทาน
อาหารแล้ว นี้เรียกว่า ภัตตสัมมทะ (42)
[860] เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน
ความไม่คล่องแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความ
ทดถอย ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย
ภาวะที่จิตท้อถอย นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (43)
[861] กุหนา เป็นไฉน
ความหลอกลวงด้วยการเสพปัจจัย ความหลอกลวงด้วยการกระซิบในที่ใกล้
หรือการวางท่าทางอิริยาบถ1 กิริยาที่วางท่าทางอิริยาบถ ความดำรงอิริยาบถด้วยดี
การปั้นสีหน้า ภาวะที่ปั้นสีหน้า ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่
หลอกลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก ถูกความ
อยากครอบงำ นี้เรียกว่า กุหนา (44)
[862] ลปนา เป็นไฉน
การทักทายผู้อื่น การพูดแนะนำตนเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง
การพูดยกย่องให้สูงขึ้นทุกส่วน การพูดเอาใจคนอื่น การพูดเอาใจคนอื่นบ่อย ๆ
การพูดแนะนำ การพูดแนะนำบ่อย ๆ การพูดยกย่องเพื่อต้องการจะให้เขารัก การ
พูดทำตนให้ต่ำลง การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก ของภิกษุผู้
มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้
เรียกว่า ลปนา (45)
[863] เนมิตติกตา เป็นไฉน
การทำนิมิต2 ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวข้องด้วยปัจจัย การ
พูดเป็นเลศนัย การพูดเลียบเคียงชนเหล่าอื่น ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง
ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า เนมิตติกตา (46)

เชิงอรรถ :
1 คำว่า "อิริยาบถ" หมายถึงอิริยาบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน (อภิ.วิ.อ. 861/521)
2 คำว่า "ทำนิมิต" ในที่นี้หมายถึงความฉลาดในการกระทำทางกายและวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน (อภิ.วิ.อ.
863/523)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :553 }